เทรนด์ ‘พฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภค’ ปี 2021 มีอะไรบ้าง และแบรนด์จะใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไร?
top of page

เทรนด์ ‘พฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภค’ ปี 2021 มีอะไรบ้าง และแบรนด์จะใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไร?


THE COMPRESSIONALIST-หมดแรง หมดไฟ แต่ใจต้องการได้สิ่งที่ดีที่สุด ปี 2021 กลุ่มผู้บริโภคที่ท่วมท้นไปด้วยความรู้สึกเหนื่อยกายหน่ายหัวใจ ไม่มีเวลาเร่งรีบ ชีวิตเต็มไปด้วยความกดดัน ตกอยู่ในภาวะไม่ว่าจะหมดไฟ burnout หรือซูเปอร์เเมนซินโดรม Superhuman Syndrome ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้ความรู้สึกว่า ตัวเองไม่เคยดีพอและพบกับความล้มเหลวเป็นระยะไม่ว่าจะเป็นวัยกลางคนที่ทำงานเพื่อให้บรรลุ KPI ขององค์กร , วัยรุ่นที่โพสต์โซเชียลมีเดียเพื่อไขว่คว้าจำนวนไลค์หลักพัน หรือเป็นคนที่มีความต้องการจะเป็นเจ้าของสุขภาพกายและใจที่ดีก็ตาม นี่คือลักษณะอาการของกลุ่มผู้บริโภคที่เรียกว่า The Compressionalist ผู้ที่มีความต้องการสำคัญเดียวกัน นั่นคือ “อะไรก็ได้ ขอให้ชีวิตง่ายขึ้น”


THE MARKET MAKER –ไม่รอตลาดตอบโจทย์ ลงมือสร้างความต้องการขึ้นเอง กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ง้อบริษัทใหญ่ว่าจะอยู่ในสายตาของธุรกิจไหนหรือไม่ แต่เลือกที่จะสร้างตลาดความต้องการขึ้นมาด้วยตัวเอง ทำให้แบรนด์ที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจตรงนี้สามารถสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคได้ทันที ผ่านการตลาดแบบ Peerto-Peer อันเป็นการสร้างพื้นที่ที่สาม Third Space ในการขายสินค้า

ตัวอย่างเช่นกลุ่ม PWD (People With Disability) หรือกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีคนกลุ่มนี้มากถึง 1.3 พันล้านคน เทียบได้เท่ากับขนาดตลาดผู้ซื้อจีน นอกจากกลุ่มนี้ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่เกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มผู้ช่วยหรือผู้ดูเเลอยู่ที่ 2.4 พันล้านคนเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัว รวมถึงการมีความต้องการผู้ดูเเลผู้สูงอายุและผู้พิการในสังคมอันใกล้นี้อีกด้วย


KINDNESS KEEPER ผู้รักษาความเอื้ออารี ที่ทำหน้าที่รักษาสมดุล ทัศนคติแบบ Kindness Keeper คือกลุ่มคนที่กำลังแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ เพื่อถ่วงสมดุลปรากฏการณ์เชิงลบตั้งแต่คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ คนรวยและคนจน กลุ่มคนเมืองและคนชนบท กลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยม เพื่อสร้างความสำเร็จในระยะยาว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่หลายประเทศกำลังส่งสัญญาณความเหลื่อมล้ำตั้งแต่การเข้าถึงที่อยู่อาศัย จนถึงการเดินทางในชีวิตประจำวันทั่วไปทั้งหมดเป็นความพยายามในการถมช่องว่างที่ห่างขึ้นเรื่อยๆ ด้วยพลังเงียบไปจนถึงการลุกฮือที่เน้นการลงมือเพื่อสร้างให้เห็นเป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้

เช่น ปรากฏการณ์ Black Lives Matter กระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกตบเท้าเข้าร่วมส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อการเหยียดเชื้อชาติและความอยุติธรรม ไม่เว้นแม้แต่พลังเงียบ Quiet Power ในจีน ที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวเลือกใช้โซเชียลมีเดียและแฮชแท็ก #Metoo ในการต่อรองกับผู้มีอำนาจและสร้างแรงสนับสนุนเพื่อหาทางออกในการแก้กฏหมายการล่วงละเมิดและการช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกข่มขืน เป็นต้น


CYBER CYNICS เพราะเทคโนโลยี อาจไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง

สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น แต่ตอนนี้มีผู้คนจำนวนมากเริ่มเบือนหน้าหนีจากหน้าจอและเพิ่มความใส่ใจด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เพราะมองว่า ถูกสอดแนมแบบไม่เป็นธรรมจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ขณะที่ Internet of Everything กำลังเติบโตมากขึ้น และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้ก้าวสู่อุปกรณ์ดิจิทัล ผู้บริโภคกลุ่ม Cyber Cynics ก็คือกลุ่มคนที่ตระหนักถึงการใช้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง


bottom of page