top of page
Writer's pictureNEX WRITOR

5 เทรนด์ New Normal อัพเดทใหม่เดือนพฤษภาคม 2020 รู้ก่อน รอดก่อน!

Updated: Jan 26, 2021

เราเริ่มใช้คำว่ายุคดิจิทัลมา 3-5 ปีแล้ว ทุกคนต่างคุ้นชินและใช้ชีวิตประจำวันไปอย่างรวดเร็ว แต่ใครจะไปคาดคิดว่าพฤติกรรมและเทรนด์จากอนาคตในอีก 100 ปีข้างหน้าจะถูกย่นระยะเวลามาแค่ไม่กี่เดือน เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19

พฤติกรรมและความคาดหวังที่มีแต่องค์กรแบบใหม่ในยุค New Normal ของผู้บริโภคถูกกระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้น Wunderman Thompson Intelligence เผยแพร่รายงาน “The Future 100 2.0.20” โดยนำเสนอ 5 เทรนด์ใหม่ที่ถูกวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้องค์กรและแบรนด์ต่างๆสามารถวางแผนปรับกลยุทธ์ เตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที

“ในขณะที่เรากำลังจะกลับสู้ภาวะปกติอีกครั้ง สิ่งที่เรียกว่าชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดูปกติเท่าไหร่ ในเดือนมกราคม 2020 เราได้เผยแพร่รายงาน Future 100 ซึ่งมีเทรนด์หลายอย่างจากรายงานฉบับนั้นยังมีแนวโน้มที่จะเป้นไปในทิศทางเดิม แต่หลายๆเทรนด์ถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้น จากผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19” คุณมัวรีน ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทยกล่าว

สำหรับรายงาน The Future 100 ฉบับ 2.0.20 Wunderman Thompson Intelligence เลือกเอา 5 เทรนด์หลักที่สรุปความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านพฤติกรรมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับแบรนด์ได้ว่า ควรจะวางแผนและตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างไร

5 เทรนด์ New Normal อัพเดทใหม่ ที่ควรจับตามอง มีดังนี้:

  • ความคาดหวังต่อแบรนด์ที่ดีของผู้บริโภค

  • ความต้องการเทคโนโลยีและทุกสิ่งเพื่อปกป้องตนเอง

  • ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

  • โลกเสมือนจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง

  • มุมมองใหม่เกี่ยวกับชุมชนและวัตถุนิยม

1. ความคาดหวังต่อ “แบรนด์ที่ดี” จากผู้บริโภค

ผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆจะร่วมมือกันแสดงบทบาทในเชิงรุกอย่างจริงจัง โดยเน้นการทำประโยชน์เพื่อโลก ส่วนรวม และผู้คนในช่วงเวลายากลำบาก จากสถิติผู้บริโภค 90%คิดว่าแบรนด์มีหน้าที่รับผิดชอบในการร่วมดูแลโลกและสังคมให้มากกว่าขึ้น และ 71% คิดว่าถ้าแบรนด์เห็นผลกำไรสำคัญกว่าผู้คนแล้ว ผู้บริโภคจะสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ตลอดไป รวมถึงกระแสผู้บริโภคอย่างมีจริยธรรมจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ศึกษาหาข้อมูลมากขึ้นเพื่อตัดสินใจซื้อของจากแบรนด์ใดๆก็ตาม ซึ่งสะท้อนค่านิยมของแบรนด์โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานสิ่งดีๆที่แบรน์นั้นทำ

ตอนนี้เราจะเห็นว่าแบรนด์ใหญ่ๆทั่วโลก กำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ โดยเริ่มที่จะยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่เหนือผลกำไร

2. ความต้องการเทคโนโลยีและทุกสิ่งเพื่อปกป้องตนเอง

แม้หลังจากการระบาดของโควิด-19 ผู้คนยังคงคาดหวังให้ทุกสิ่งรักษามาตฐานความสะอาดด้านสุขอนามัยและการป้องกันต่างๆ ไว้ในระดับสูงสุด โดยมีแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เช่น การป้องการจากเชื้อไวรัส เชื้อโรค และมลภาวะอื่นๆ ทั้งในเรื่องอาหาร การเดินทาง การค้าและการช็อปปิ้ง รวมถึงบ้านและที่ทำงานด้วย

ตัวอย่างจากประเทศจีน พบว่า ผู้บริโภครู้สึกว่าการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้มีความต้องการซื้อรถยนต์มากขึ้นกว่าเดิม บริษัทรถยนต์ Geely ส่งมอบกุญแจรถให้แบบไร้การสัมผัสโดยใช้โดรน รถยนต์ใหม่ล่าสุดมีระบบฟอกอากาศที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ แบรนด์จึงต้องเริ่มพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ของผู้บริโภคในระยะยาว เพื่อตอบโจทย์ความจำเป้นของผู้บริโภคยุคใหม่ได้มากขึ้น

3. ความเปลี่ยนแปลงเรื่องสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ทุกวันนี้เรามีมาตรฐานใหม่ด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น Future Proof Ingredients ส่วนผสมที่จะมีใช้ต่อไปได้เรื่อยๆในอนาคต, อาหารที่เก็บไว้ได้นาน และการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการดูแลรักษาร่างการและผิวพรรณให้ปลอดเชื้อและผู้ช่วยเหลือด้านสุขภาพ ในส่วนของการรับประทานอาหาร พบว่า ผู้บริโภคมีทั้งซื้ออาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็งมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกกลุ่มที่ซื้ออาหารสดจากเกษตรอินทรีย์มากขึ้นเช่นกัน

ตัวอย่างการทำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แบรนด์ Amass โรงกลั่นสุราทำผลิตภัณฑ์ล้างมือสมุนไพร โดยผสมผสานกลิ่นหอมของสมุนไพรเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงการฆ่าเชื้อโรคด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นแค่การทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว

4. โลกเสมือนจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง Social Media จะไม่มีไว้เพื่อการมีส่วนร่วมเท่านั้น แต่จะกลายเป็นพื้นที่บนโลกดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างจริงใจของมวลมนุษยชาติ และเข้ามาแทนที่ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ ซึ่งพบว่าการแชทผ่านวิดิโอมีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงมากกว่า 80% ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และฝั่งFacebookพบว่าปริมาณการใช้งานวิดิโอคอลเพิ่มขึ้นถึง 1,000% ส่งผลให้เกิดคอมมมูนิตี้ใหญ่ๆ และส่งผลต่อแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น ดนตรี การสังสรรค์ และการแสดงคอนเสิร์ตอย่างรวดเร็ว

ซึ่งเราจะเห็นว่าแต่ละแบรนด์กำลังหาทางให้การติดต่อเชื่อมโยงเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นTinder เปิดฟีเจอร์พาสปอร์ต เพื่อให้คนโสดทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อการได้อย่างฟรีๆ โดยไม่ต้องเดินทางจริง นอกจากนี้ การเล่นเกมได้รับความนิยมได้มากข้นเช่นกัน เพราะคนนิยมเล่นเกมมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ตัวอย่างหนึ่งในเกมที่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างดี คือ Fortnite ร่วมจัดคอนเสิร์ตของ Travis Scott ขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เข้าชมเสมือนจริงมากกว่า 12 ล้านคน

ขอบคุณรูปภาพจาก Essentiallysports


5. มุมมองใหม่เกี่ยวกับชุมชนและวัตถุนิยม

ผู้คนกำลังมองหาความมั่นคงทางจิตใจในช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวาย แม้ว่าศาสนาและวัตถุนิยมไม่มีความเชื่องโยงกันมากเท่าไหร่นัก มีการสวดมนต์และทำสมาธิเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม และคนส่วนใหญ่มีเวลามองเข้าไปภายในจิตใจของตนเองและมองสูงขึ้นไปในวิถีใหม่แห่งจิตวิญญาณ แอปพลิเคลั่นเพื่อการทำสมาธิอย่าง Headspace นำเสนอฟีเจอร์ต่างๆ ที่เปิดให้ใช้ฟรี เช่น การทำสมาธิ การนอนหลับ และการฝึกการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เพื่อสร้างชีวิตทางจิตวิญญาณขึ้น ก่อให้เกิดความสงบ เบิกบาน และสมหวัง มากกว่าการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อฆ่าเวลาในการอยู่บ้านกักตัว

New Normal ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ทำให้แบรนด์ต่างๆมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจผู้บริโภค และเตรียมรับมือวิกฤต ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคหรือบริโภค เพื่อให้อยู่รอดและเป็นที่เชื่อมั่นในใจผู้บริโภคตลอดไป


ขอบคุณข้อมูลจาก Teachsauce TECH & BIZ ECOSYSTEM LEADER


Comments


bottom of page