อัพเดท “พฤติกรรมคนไทย” ที่เปลี่ยนไปในช่วง Covid-19
top of page

อัพเดท “พฤติกรรมคนไทย” ที่เปลี่ยนไปในช่วง Covid-19

Updated: Jan 26, 2021



Covid-19 อีกหนึ่งวิกฤตใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นวิกฤตระดับโลก ที่ทำให้เกิดสภาวะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และด้วยมาตรการป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ว่ากันว่าสิ่งใดที่คนทำซ้ำๆ ในช่วยระยะเวลาหนึ่ง พฤติกรรมเหล่านี้จะกลายเป็นนิสัย และทำให้การใช้ชีวิตของเค้าเปลี่ยนไปตลอดกาล

และจากผลกระทบที่กล่าวมาทำให้ กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์, คันทาร์ และ ไวซ์ไซท์ ทำการสรุปภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับประเทศและธุรกิจ ผ่านบทความเรื่อง Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers


สรุปภาพรวมมาตรฐการป้องกันไวรัส ทั้งภาครัฐและเอกชน

จากข่าวการเริ่มระบาดของไวรัสโคโรน่าตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างได้ร่วมกันออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อร่วมกันสกัดและลดความเสี่ยงให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้ ได้แก่

  1. การนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแพร่ระบาดของไวรัส

  2. การรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองผ่านการรักษาความสะอาด เช่น การสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมืออย่างถูกต้อง

  3. การตั้งข้อกำหนดให้พนักงานบริษัทได้ทำงานจากที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยง

  4. การออกข้อกำหนดเพื่อปิดพื้นที่ส่วนกลาง สถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า

  5. การประกาศเลิกเทศกาลสงกรานต์ประจำปี

  6. การหยุดการให้บริการชั่วคราวของ 5 สายการบินจากจำนวน 6 สายในประเทศไทย การปิดน่านฟ้าและการกำหนดให้มีการกักตัว 14 วันสำหรับคนไทยเพื่อป้องกันไม่ให้นักเดินทางจากประเทศที่เป็นเขตพื้นที่โรคเสี่ยงได้เข้ามายังในประเทศไทย

  7. และล่าสุดคือการที่รัฐบาลได้มีการประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านในช่วงเวลาระหว่าง 22.00 - 04.00 นาฬิกา

ทั้งหมดนี้เพื่อควบคุมการติดเชื้อระหว่างคนภายในประเทศ ที่ปัจจุบันเพิ่มจำนวนขึ้นถึงกว่า 2,000 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2563)

การวางแผนการเงิน , เศรษฐกิจประเทศ และการดูแลสุขภาพของตนเอง” คือสิ่งที่ผู้บริโภคในไทยให้ความกังวลมากที่สุดในช่วง Covid-19 นี้

มาตรการและเหตุการณ์ข้างต้นส่งผลโดยตรงต่อการหยุดชะงักของกลไกต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้บริโภค จากผลวิจัยโดย คันทาร์ พบว่าคนไทยมีความกังวลมากขึ้นในเรื่องของความปลอดภัยและสถานภาพทางการเงินของตัวเองมากขึ้น โดย

  • 66% ของผู้บริโภคไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในด้านการวางแผนการใช้เงิน

  • 54% เป็นห่วงถึงอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย

  • และอีก 52% เริ่มมีความกังวลต่อสุขภาพของตนเอง

ซึ่งตัวเลขนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับผลการวิจัยผู้บริโภคของ กรุ๊ปเอ็ม ที่พบว่าพฤติกรรมการค้นหาแพ็คเกจประกันชีวิตหรือโปรแกรมที่รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดจากการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด-19 ได้เพิ่มจำขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

Twitter และ Facebook คือสื่อออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ที่คนไทยใช้ในการพูดถึงข่าวสารต่าง ๆ ในสถาณการณ์ Covid-19


จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงคุณภาพของ กรุ๊ปเอ็ม กับผู้บริโภคทั่วประเทศพบว่าคนไทยเริ่มมีความตระหนักและมีการกล่าวโคโรน่าไวรัสตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมโดยเฉพาะบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมีการพูดถึงมากขึ้นภายหลังจากที่มีการเรียกชื่อไวรัสนี้ใหม่เป็น โควิด-19 และมีความตื่นตัวหลังจากมีข่าวผู้เสียชีวิตรายแรก

ทั้งนี้ข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ระบุว่าระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนมีนาคม มีการกล่าวถึงเรื่องเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผู้บริโภคชาวไทยกว่า 148 ล้านข้อความ โดยแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ในการพูดและกล่าวถึงสถานการณ์นี้คือ

  • Twitter อยู่ที่ 65%

  • Facebook อยู่ที่ 20%

พฤติกรรม Work From Home ของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้คนใช้แพลทฟอร์มออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่น่าสนใจของคนไทยภายหลังจากการที่ภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ประชาชนกักตัวและทำงานจากที่บ้านพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงในการใช้เวลาบนแพลตฟอร์มทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนหน้าอย่างเช่นเรื่องของฝุ่น PM2.5


พบว่าคนไทยมีการปรับพฤติกรรมโดยพึ่งพาการใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

โดยมีสถิติ ดังนี้

  • 52% เริ่มสมัครดู Streaming แบบจ่ายเงิน

  • 44% เริ่มสั่งอาหารออนไลน์ (หรือสั่งมากขึ้น)



การเติบโตของการสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในคนไทย โดยพบว่าการสั่งอาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางออนไลน์ได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 116%

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่


bottom of page