คู่มือข้อกำหนดโฆษณาคลินิก | NEXDIGITALMARKETING
top of page
อัปเดตกฎใหม่-06.jpg

อัปเดตล่าสุด! ข้อกำหนดการโฆษณาคลินิก ปี 2568

ที่เจ้าของคลินิกต้องรู้ ก่อนทำการโฆษณา

                       ในยุคที่การตลาดคลินิกแข่งขันกันอย่างเข้มข้น การโฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมายกลายเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจคลินิกทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะหากพลาด อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือโดนฟ้องร้องได้แบบไม่รู้ตัว

                     ล่าสุด กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้สรุปแนวทางการโฆษณาสถานพยาบาลฉบับอัปเดตเมื่อ 13 มีนาคม 2568 ซึ่งมีหลายประเด็นที่ควรจับตา มาดูกันว่าคลินิกควรปรับตัวอย่างไรบ้าง

1. การใช้ชื่อแพทย์ในการโฆษณา

      1.1. ชื่อ-สกุลของแพทย์ต้องเป็นภาษาไทย เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์ของแพทยสภาได้

      1.2. ต้องระบุเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถใช้ชื่อเล่นได้ แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น

2. การใช้ภาพแพทย์ในโฆษณา

      2.1. คลินิกสามารถโพสต์รูปของแพทย์ได้เฉพาะแพทย์ที่เป็นผู้ดำเนินการหรือแพทย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น

      2.2. แพทย์ที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง ไม่สามารถใช้รูปในการโฆษณาได้

 3. การโฆษณาวุฒิการศึกษาและการอบรม
      3.1. สามารถโฆษณาวุฒิการศึกษาและหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาเท่านั้น
      3.2. หากเป็นหลักสูตรที่แพทยสภาไม่รับรอง สามารถติดประกาศภายในสถานพยาบาลได้ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อโฆษณา

4. การถวายพระพร
ห้ามโฆษณาหรือประกาศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
5. การไลฟ์สด (Live Streaming)
      5.1. ห้ามไลฟ์สดขณะทำหัตถการหรือภายในห้องทำหัตถการ เพื่อป้องกันภาพที่อาจสร้างความหวาดกลัวหรือไม่เหมาะสม
      5.2. ห้ามไลฟ์สดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์หรือเวชภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

6. การใช้คำว่า “โปรแกรม” ในโฆษณา
ข้อความ “โปรแกรม” ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 60% ของชื่อเครื่องมือแพทย์หรือยา เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นโปรแกรมบริการ ไม่ใช่การขายยาโดยตรง
7. การโฆษณาโบท็อกซ์และเครื่องมือแพทย์
      7.1. สามารถใช้คำว่า "โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์" แต่ห้ามระบุชื่อยี่ห้อโบท็อกซ์
      7
.2. สามารถโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยใช้คำว่า "โปรแกรม + ชื่อเครื่องมือแพทย์" เช่น "โปรแกรม Thermage" แต่ห้ามใช้รูปภาพของเครื่องมือหรือกล่องบรรจุภัณฑ์ที่แสดงถึงยี่ห้อ
8. การใช้ภาพแพทย์ร่วมกับผลิตภัณฑ์
ห้ามใช้ภาพแพทย์ร่วมกับยา เครื่องมือแพทย์ หรือเครื่องสำอาง เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในการโฆษณา
9. ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง
ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. หรือแพทยสภา เช่น Stem Cell, PRP, Anti-Aging, Mesofat, IV Drip, ปากกาลดน้ำหนัก และหัตถการเพิ่มขนาดอวัยวะ
10. การเผยแพร่ภาพแพทย์ขณะทำหัตถการ
ห้ามเผยแพร่ภาพแพทย์ขณะทำหัตถการให้ตัวเอง เช่น ฉีดฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ให้ตัวเอง เนื่องจากอาจสร้างความหวาดกลัวและไม่เหมาะสม

11. การใช้ดาราหรือ Influencer ในโฆษณา
        11.1. ดาราหรือ Influencer ไม่สามารถโฆษณายา เครื่องมือแพทย์ หรือหัตถการทางการแพทย์ได้
        11.2. หากต้องการโฆษณาสถานพยาบาล ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)

12. การแสดงตัวเป็นแพทย์ในโฆษณา
ห้ามดาราหรือบุคคลทั่วไปแต่งตัวเป็นแพทย์เพื่อโฆษณา ยกเว้นกรณีที่เป็นภาพยนตร์และได้รับอนุญาตจาก สบส.
13. การเปิดเพจและโพสต์โฆษณา
การโพสต์โฆษณาทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram ถือเป็นการโฆษณา แม้จะไม่ได้ยิงโฆษณา (Ads) ก็ตาม จึงต้องขออนุญาตก่อนเผยแพร่
14. การรับโล่รางวัลและการโฆษณา
        14.1. ห้ามใช้ภาพแพทย์รับโล่รางวัลที่มีชื่อบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นการโฆษณาทางอ้อม
        14
.2. ห้ามใช้ภาพรางวัลในการโฆษณาเพื่อสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน
15. การแจ้งราคาหรือส่วนลด
สามารถแจ้งราคาและส่วนลดได้ แต่ต้องแสดงข้อมูลให้ชัดเจน เช่น อัตราค่าบริการและระยะเวลาของโปรโมชั่น
16. การเผยแพร่ภาพก่อน-หลังทำหัตถการ
        16
.1. ต้องมีใบยินยอมจากคนไข้ พร้อมระบุวันที่ทำหัตถการและวันที่ถ่ายภาพ
        16.2. ต้องระบุว่า "ผลลัพธ์ของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน" เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด

17. การเปิดคอร์สเรียนการสอนในคลินิก
        17.1. คลินิกเอกชนห้ามเปิดคอร์สสอนการแพทย์หรือแอบอ้างเป็นอาจารย์แพทย์
        17
.2. ข้อความโฆษณาที่ระบุว่า "อาจารย์แพทย์ผู้สอนฉีดฟิลเลอร์" ถือเป็นข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

“ โฆษณาอย่างเข้าใจ สื่อสารอย่างมีคุณธรรม พื้นฐานความยั่งยืนของธุรกิจคลินิก”

                       การโฆษณาสถานพยาบาลในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ต้องดึงดูดผู้รับบริการเท่านั้น แต่ยังต้องอิงหลักกฎหมาย จริยธรรม และแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด การจัดการสื่อสารที่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่ป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมาย แต่ยังสะท้อนถึงความรับผิดชอบในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

                       การสื่อสารในยุคปัจจุบันสำหรับคลินิกความงาม ไม่ใช่แค่ “สวย เป๊ะ เห็นผลชัวร์” อีกต่อไป แต่ต้องเน้น ความถูกต้องตามกฎหมาย ความโปร่งใส และการให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้  

แนะนำตัวอย่างคอนเทนต์  โดยยึดตามแนวทางที่อัปเดตล่าสุดจากกรม สบส. ปี 2568

ตัวอย่างโพสต์แนะนำแพทย์

  1. แสดงเฉพาะชื่อจริง

  2. เลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จากสภาวิชาชีพ (เลข ว. )

  3. ไม่มีคำโอ้อวดหรือบิดเบือน ไม่ใช้คำว่า “หมอชื่อเล่น” อย่างเดียว

  4. ไม่มีรูปกับยา/เครื่องมือแพทย์

nex-01_0.jpg

ตัวอย่างโพสต์แนะนำบริการ (ใช้คำว่า "โปรแกรม")

  1. ใช้คำว่า "โปรแกรม" + ชื่อเครื่องทั่วไป (ไม่ใส่ยี่ห้อ)

  2. ไม่มีภาพเครื่องมือ

  3. ไม่มีภาพ Before-After ถ้าไม่มีเอกสารยินยอม

nex-02_0.jpg

ตัวอย่างโพสต์ราคา

  1. บอกราคา + ระยะเวลา + ขอบเขตบริการชัดเจน

  2.  ไม่ระบุยี่ห้อยา

  3.  ไม่ใช้คำว่า “ดีที่สุด” หรือ “เห็นผลชัวร์”

nex-03_0.jpg

ตัวอย่างโพสต์ Before-After (ถ้ามีใบยินยอม)

 ได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการในการเผยแพร่ภาพ

  1. ระบุวันก่อน-หลังชัดเจน

  2.  มีใบยินยอมจริง

  3. ไม่มีการการันตีผลเกินจริง

nex-04_0.jpg

ตัวอย่างโพสต์ให้ความรู้

  1. ไม่มีการโปรโมทสินค้า

  2.  สื่อสารอย่างเป็นกลาง

  3. สร้างภาพลักษณ์ผู้เชี่ยวชาญให้คลินิก

nex-05_0.jpg

อ้างอิงข้อมูล : ข้อมูลกลุ่มการโฆษณาและเปรียบเทียบคดี กองกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๘

bottom of page